วันพุธที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2553

รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของพนักงานครูเทศบาลเพื่อขอเลื่อนวิทยะฐานะ ครูชำนาญการพิเศษ

การรายงานผลที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
ของพนักงานครูเทศบาลเพื่อให้มีหรือเลื่อนวิทยฐานะชำนาญการพิเศษ
วิทยฐานะที่ขอเลื่อน ครู ชำนาญการพิเศษ
*****************************************
1. ข้อมูลผู้รับการประเมิน
ชื่อ – สกุล นางชลธิชา แสงทอง อายุ 44 ปี อายุราชการ 16 ปี
คุณวุฒิสูงสุด ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต วิชาเอก สังคมศึกษา
จากสถาบันการศึกษา วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 12383-2
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี)
สังกัด สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 2 ขั้น 6.5 20,220
2. การปฏิบาติงานในปีที่ขอรับการประเมิน (ระบุรายการที่ปฏิบัติจริง)
สายงานการสอน
2.1 ปฏิบัติการสอนระดับชั้นอนุบาล 3
2.2 จำนวนชั่วโมงที่สอน 28 ชั่วโมง/สัปดาห์
2.3 ปฏิบัติหน้าที่ครูที่ปรึกษา/ครูประจำชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
24. กิจกรรมพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบ
1) กิจกรรมการจัดนิทรรศการแสดงผลงานทางวิชาการระดับเทศบาล
2) กิจกรรมทำบุญตักบาตร – ฟังธรรมในทุกวันพระ
3) กิจกรรมทัศนศึกษานอกสถานที่
4) กิจกรรมแข่งขันทางวิชาการระดับอนุบาล
5) กิจกรรมการประกวดยุวชนคนเก่งระดับชั้นอนุบาล
6) กิจกรรมเยี่ยมบ้าน
7) กิจกรรมกีฬา – กรีฑาระดับชั้นอนุบาล
8) กิจกรรมส่งเสริมเด็กเก่งและพัฒนาเด็กพิเศษ
2.5 หน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเป็นพิเศษ
1) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่การเงินโครงการอาหารกลางวัน
2) ได้รับมอบหมายให้ปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าสายชั้นอนุบาล
3) ได้รับมอบหมายให้เป็นหัวหน้างานพัสดุ – ครุภัณฑ์

4) เป็นผู้จัดทำวาระการประชุมและบันทึกการประชุมประจำเดือน
5) เป็นผู้บันทึกการประชุมงานวิชาการของกลุ่มการศึกษาประถมวัยระดับเทศบาล
6) เป็นผู้บันทึกการประชุมคณะกรรมการบริหารโรงเรียน
7) เป็นหัวหน้ากิจกรรมเยี่ยมบ้านครู นักเรียน ผู้ปกครองและผู้อุปการคุณต่อโรงเรียน
8) เป็นหัวหน้าในการจัดทำต้นเทียนจำนำพรรษา เพื่อเข้าร่วมปะกวด
9) เป็นผู้รับผิดชอบโครงการภูมิปัญญาท้องถิ่น โครงการบัณฑิตน้อย โครงการค่ายอนุบาลแสนสนุก โครงการแหล่งเรียนรู้ในชุมชน
10) เป็นผู้ฝึกซ้อมยุวชนคนเก่งเพื่อเข้าร่วมประกวดในงานวันเยาชนแห่งชาติ
11) เป็นตัวแทนส่งผลงานวิจัยดีเด่นระดับประถมวัยของโรงเรียน
12) เป็นหัวหน้างานประกันคุณภาพทางการศึกษาระดับประถมวัย
13) ได้รับตำแหน่งให้เป็นครูผู้ควบคุมการฝึกซ้อมการร้อยมาลัยคล้องคอมือเพื่อเข้าประกวดแข่งขันในวันจัดนิทรรศการ การจัดการศึกษาเทศบาลภาคกลาง
14) ได้รับแต่งตั้งเป็นครูผู้ฝึกซ้อมนักเรียนเต้นประกอบเพลงแนวใหม่ เพื่อเข้าแข่งขันในวันต่อต้านยาเสพติด
3. รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่
3.1 ผลงานปฏิบัติงาน ให้รายงานผลงานที่เกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ย้อนหลัง 2 ปีติดต่อกันนับถึงวันที่ยื่นคำขอ
3.1.1 ผลงานตามหน้าที่และความรับผิดชอบตามมาตรฐานตำแหน่งและมาตรฐานวิทยฐานะ
1. ปฏิบัติหน้าที่หลักเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน
ผู้เสนอขอได้ปฏิบัติงานตามหน้าที่หลักในการจัดการเรียนการสอนและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายพิเศษด้วยความวิริยะอุตสาหะจนเกิดผลดีต่อทางราชการดังนี้
ตารางที่ 1 กิจกรรมการจัดการเรียนรู้ระดับชั้นที่รับผิดชอบปีการศึกษา 2550 และ 2551
กิจกรรม ปีการศึกษา ระดับชั้น/จำนวนนักเรียน
1. กิจกรรมเคลื่อนไหวและจังหวะ
2. กิจกรรมเสริมประสบการณ์ (กิจกรรมวงกลม)
3. กิจกรรมสร้างสรรค์
4. กิจกรรมเสรี
5. กิจกรรมกลางแจ้ง
6. กิจกรรมเกมการศึกษา
7. อบรม – ดูแลนักเรียนในเวลาพักผ่อน 2550
และ
2551 อนุบาล 3/2
จำนวนนักเรียน 32 คน
อนุบาล 3/1
จำนวนนักเรียน 35 คน

ผู้เสนอขอได้จัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ศึกษาหาความรู้หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย หลักสูตรสถานศึกษา คู่มือครู ผังมโนทัศน์ เอกสารวิชาการต่างๆศึกษาเทคนิควิธีการสอน รูปแบบการจัดการเรียนรู้ สื่อ แหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล จัดทำข้อมูลนักเรียน การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จำแนกจัดกลุ่มนักเรียนตามระดับความสามารถ ความถนัด จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่หลากหลาย เพื่อตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคล ทำให้นักเรียนทุกคนประสบความสำเร็จในการเรียนรู้ มีความสุข และภาคภูมิใจในตนเองดังตัวอย่างต่อไปนี้
1.1 การสอนเน้นจากการปฏิบัติจริง โดยใช้โครงงาน เช่น โครงงานการประกอบอาหาร โครงงานทำสีจากธรรมชาติ โครงงานประดิษฐ์เศษวัสดุเหลือใช้
1.2 การสอนเน้นส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดยใช้สื่อชนิดต่างๆและการนั่งสมาธิทุกเช้าเริ่มทำกิจกรรม มีการทำบุญตักบาตรฟังธรรมทุกวันพระ
1.3 ส่งเสริมวัฒนธรรมโดยการนำนักเรียนไปทัศนศึกษาสถานที่สำคัญๆ ต่างๆของชุมชน และส่งเสริมร่วมงานประเพณีต่างๆของชุมชนอีกด้วย
1.4 การสอนเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม นำนักเรียนไปปลูกป่าโดยปลูกต้นไม้บริเวณริมแม่น้ำป่าสักด้านหลังโรงเรียน และบริเวณสวนสาธารณะในชุมชน
2. การส่งเสริมการเรียนรู้การพัฒนาผู้เรียน
ในการจัดการเรียนการสอนระดับประถมวัย นอกจากกิจกรรมในห้องเรียนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้แล้ว ยังได้จัดกิจกรรมมุ่งส่งเสริมการเรียนรู้ เสริมสร้างพัฒนาสุขภาพกาย สุขภาพจิต ทำให้นักเรียนมีความรู้ทักษะพื้นฐาน มีสุขภาพกายใจสมบูรณ์พร้อมที่จะเรียนรู้และพัฒนาเต็มตามศักยภาพของแต่ละคน
3. ปฏิบัติงานทางวิชาการของสถานศึกษา
เป็นคณะกรรมการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษา จัดทำหลักสูตรการศึกษาปฐมวัยร่วมปฏิบัติงานด้านวิชาการของสถานศึกษาในด้านการประเมินปลายภาคเรียนและปลายปีการศึกษาเป็นคณะกรรมการการประเมินพัฒนาทางการเรียนเพื่อรองรับการประเมิน ส่งเสริมพัฒนาคุณภาพการศึกษา พัฒนาประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ กิจกรรมเสริมการเรียนรู้ให้บรรลุเป้าหมาย ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและเป็นหัวหน้าประกันคุณภาพรับผิดชอบงานประกันคุณภาพรับผิดชอบงานประกันคุณภาพระดับปฐมวัยทั้งหมด
4. ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและหรือสถานประกอบการเพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน
4.1 เป็นคณะทำงานด้านความสัมพันธ์กับชุมชนของโรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเมืองสระบุรี) มีหน้าที่ประสานงานกับชุมชนในการบริการสถานที่ การบริการด้านวิชาการ การจัดงานนิทรรศการ การจัดการแสดงของนักเรียน เพื่อให้ความบันเทิงแก่ชุมชน และการให้ความร่วมมือในการนำนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของชุมชน และการให้ความร่วมมือ ในการรักษาสิ่งแวดล้อม การรณรงค์การเลือกตั้ง การรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด เป็นต้น ทำให้โรงเรียนได้รับความร่วมมือจกชุมชนในการพัฒนาการเรียนสอนตลอดจนให้ความร่วมมือในการพัฒนาโรงเรียนอย่างสม่ำเสมอ
4.2 เป็นหัวหน้าโครงการเยี่ยมบ้านของโรงเรียน มีหน้าที่เสนอแนะแนวทางการเยี่ยมบ้านของบุคลากรในโรงเรียน กำกับดูแล และติดตามผลการเยี่ยมบ้านของนักเรียนส่งผลให้ครูและผู้ปกครองรวมมือกันในการจัดการศึกษา และแก้ปัญหาของนักเรียนทุกคนให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี
5. การบริหารสังคมด้านวิชาการ
1) จัดทำเอกสารเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับการเรียนของเด็กปฐมวัยที่ควรรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียน
2) เสนอแนะวิธีกำจุดยุงลายแก้ผู้ปกครองนักเรียน
3) ร่วมจัดกิจกรรมและการแสดงในงานวันแม่ วันเด็กของโรงเรียน
4) ได้เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาชุมชนเพื่อการอยู่ดีกินดี ร่วมกับสาธารสุขของเทศบาลเมืองสระบุรี แก่ชาวบ้านชุมชนการเคหะฯ เขตเทศบาลเมืองสระบุรี
5) ให้ความรู้เกี่ยวกับการติดต่อของโรคอีสุกอีใส โรคไข้เลือดออกและการเฝ้าระวังรักษาฟันผุ
6) ร่วมกิจกรรมและแนะนำ เผยแพร่การป้องกันยาเสพติด ตามโครงการแดร์ ของตำรวจภูธร จังหวัดสระบุรี
7) ร่วมกิจกรรมแข่งขันการเต้นประกอบเพลงแนวใหม่ ในงานวันเยาวชนแห่งชาติ
8) บริการให้ความรู้ ให้ความร่วมมือ เอื้อเฟื้อ อำนวยความสะดวก ทั้งด้านวิชาการการพัฒนาคุณภาพชีวิต และการประกอบอาชีพ
6. หน้าที่อื่นตามที่ได้รับมอบหมาย
1) เป็นหัวหน้าคณะทำงานประกันคุณภาพการศึกษาระดับอนุบาล
2) เป็นเจ้าหน้าที่การเงินของโครงการอาหารกลางวัน
3) เป็นคณะทำงานประกันสุขภาพในสถานศึกษา
4) เป็นคณะกรรมการส่งเสริมวิชาการโรงเรียน เป็นกรรมการแข่งขันทางวิชาการ
5) เป็นคณะทำงานเรื่องการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ
6) ได้รับแต่งตั้งเป็นกรรมการดำเนินการวัดผลประเมินผล
7) เป็นคณะกรรมทำงานดำเนินการฝึกซ้อมกิจกรรมโครงการยุวชนคนเก่ง
8) หน้าที่อื่นๆที่ได้รับมอบหมาย


3.1.2 ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่งคุณภาพการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิทยฐานะ
3.1.2.1 ผลงานตามลักษณะงานที่ปฏิบัติตามมาตรฐานตำแหน่ง ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้ โดยวิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้และสาระการเรียนรู้ได้ถูกต้องนำไปใช้ในการทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และครบองค์ปรกอบตามที่สถานศึกษากำหนดและในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ผู้รายงานได้ทำดังนี้
1) ศึกษาหลักสูตร วิเคราะห์มาตรฐานการเรียนรู้ จัดทำหน่วยการเรียนรู้ จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยจัดกิจกรรมให้เหมาะสมตามสภาพความพร้อมของนักเรียน
ผลจากการเตรียมการสอนที่สมบูรณ์และมีคุณภาพ ทำให้เกิดความพร้อมทุกด้าน อันได้แก่ ด้านตัวครูผู้สอน ด้านนักเรียน ด้านกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านอุปกรณ์ประกอบการสอน ด้านวัดผลและประเมินผล ส่งผลให้การปฏิบัติกิจกรรมเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นักเรียนมีความสุขในการเรียน ครูมีความมั่นใจในการสอน ทำให้นักเรียนได้มีการพัฒนาทุกด้าน
2) จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นให้ผู้เรียนสร้างความรู้ได้ด้วยตนเอง ซึ่งประกอบด้วยขั้นนำเพื่อสร้างและกระตุ้นความสนใจ เตรียมความพร้อมในการเรียน เร้าความสนใจด้วยของจริง รูปภาพประกอบ นิทาน ปริศนาคำทาย ภาพและเสียงจากแผ่นบันทึกภาพ (VCD) ให้นักเรียนได้สร้างความรู้ด้วยตนเอง ด้วยการลงมือปฏิบัติ (Learning by doing) ทำให้นักเรียนเข้าใจบทเรียน ฝึกสังเกต จำแนกของจริงของจำลองจนเกิดความรวบยอดและนำเสนอความคิดให้ชัดเจน เป็นรูปธรรมด้วยคำพูด ตัวเลข และสัญลักษณ์
3) ให้นักเรียนมีบทบาทในการวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของตนเอง โดยให้นักเรียนได้ตัดสินใจเลือกวิธีการที่นักเรียนถนัดและสนใจ
4) ให้นักเรียนได้เรียนรู้จากกลุ่ม เน้นการทำกิจกรรมกลุ่ม ช่วยกันค้นหารวบรวมข้อมูล นำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์ จำแนก เปรียบเทียบและสรุปด้วยตนเอง
5) จัดเตรียมสื่อประกอบการเรียนการสอนตามแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
6) ดำเนินการแก้ปัญหาหรือวิจัยในชั้นเรียนได้อย่างเป็นระบบ
เมื่อเกิดปัญหาต่างๆภายในชั้นเรียน ผู้รายงานจะนำข้อมูลต่างๆมาวิเคราะห์ เพื่อหาทางแก้ไขโดยการใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์เข้าแก้ไขทันที โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานดังนี้
- การวิเคราะห์ปัญหาการเรียนการสอน
- การศึกษาแนวคิดและทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง
- การพัฒนานวัตกรรม
- การออกแบบทดลอง
- การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวัด
- การเก็บรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล
- การเขียนรายงานการวิจัย
เมื่อแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยจัดทำเป็นวิจัยในชั้นเรียนผู้รายงานได้นำข้อค้นพบและวิธีแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียนนี้ไปเผยแพร่ให้กับเพื่อนครูในโรงเรียนทราบและนำแนวทางในการแก้ปัญหาและวิธีการแก้ไขมาเปรียบเทียบให้กับห้องเรียนและคณะครูผู้อื่นซึ่งอยู่ในรูปของสนทนาย่อย ประชุมย่อย และการนิเทศภายในซึ่งทำให้เกิดผลดีและประโยชน์ต่อการศึกษาพร้อมทั้งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ซึ่งผู้เสนอขอได้ทำการวิจัยในชั้นเรียนดังนี้
1. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์โดยการใช้เส้นและเสียงอย่างเสรี
2. ปัญหาการเขียนตัวหนังสือหัวกลับของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
3. การจัดกิจกรรมส่งเสริมการมีวินัยด้านการฟัง จากการเล่านิทานของนักเรียน ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
4. การปรับพฤติกรรมการรังแกเพื่อนของเด็กนักเรียนที่ก้าวร้าวโดยใช้เพลงและดนตรี ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3
5. การพัฒนานักเรียนสมาธิสั้นด้วยกิจกรรมสร้างสรรค์และเกมการศึกษา ของเด็กชายธนกิจ จันธรรมมา นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
6. การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ด้วยการวาดภาพโดยการศึกษาจากธรรมชาติรอบตัวของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3/1
7. การจัดกิจกรรมเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทำงาน ของเด็กชายตรีชา แสนหาญ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3/1
8. การปรับพฤติกรรมที่ไม่ชอบทานผักด้วยการใช้กิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยขอนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
9. การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเล่นของเด็กชายดนัย เพชรสิงห์ นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3/1
10. การเสริมสร้างวินัยในตนเองด้วยนิทานของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3/1
11. การพัฒนาความพร้อมทางภาษาในการพูด โดยนิทานประกอบแผ่นภาพของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่3/1
7) ดำเนินการวัดผลตามสภาพจริง และวิธีการที่หลากหลายและนำผลไปใช้ในการพัฒนานักเรียน ในการวัดผลประเมินผลการเรียนรู้ ได้กำหนดวิธีการวัดผลประเมินผลเครื่องมือที่ใช้และเกณฑ์การวัดได้อย่างชัดเจน โดยให้สอดคล้องและครอบคลุมกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้ในแผนการจัดประสงการณ์การเรียนรู้ การประเมินโดยแฟ้มพัฒนางาน สมุดบันทึกพัฒนาการเด็กปฐมวัย แบบประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ แบบสังเกตพฤติกรรมแบบบันทึกการพูด การคิดวิเคราะห์แบบรายงานผลการพิจารณาคุณภาพผู้เรียนรายบุคคล ระเบียบสะสม และแบบสังเกตต่างๆ การประเมินเพื่อน ครู และผู้ปกครองร่วมกันประเมิน
8) รายงานผลต่อผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้บริหารอย่างถูกต้อง สม่ำเสมอ
หลังจากได้มีการประเมินผลปลายภาคเรียนแล้ว ก็มีการแจ้งผลการพัฒนาการของนักเรียนให้นักเรียนทราบเป็นรายบุคคล และจัดทำเอกสารที่สมบูรณ์เป็นปัจจุบันและรายงานต่อผู้บริหาร ผู้เรียนและผู้ปกครอง พร้อมทั้งแจ้งผู้ปกครองพบครูประจำชั้นเพื่อรับทราบปัญหาและพฤติกรรมความก้าวหน้าทางการเรียนของนักเรียนเพื่อที่จะได้ร่วมกันพัฒนาต่อไป
2. การพัฒนาวิวิชาการ พิจารณาจาก
1) มีการพัฒนา จัดหา ประยุกต์ใช้สื่อ นวัตกรรมและสื่อการเรียนรู้เพื่อใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอน ได้แก่ ชุดการพัฒนากล้ามเนื้อเล็กด้วยชุดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัย และคู่มือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์สอนนักเรียนชั้นอนุบาลช่วยให้นักเรียนระดับอนุบาลมีพัฒนาการทั้ง 4 ด้านดียิ่งขึ้นและสนุกกับการเรียนรู้ รวมถึงเอกสารประกอบการเรียน ใบงาน แผ่นภาพนิทาน ฯลฯ และการใช้แหล่งข้อมูลข่าวสาร สารสนเทศ แหล่งความรู้ต่างๆเพื่อเสริมสร้างให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้ ปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน ปลูกฝังค่านิยมเศรษฐกิจพอเพียง แสวงหาความรู้ด้วยตนเองมีส่วนในการสร้างสื่ออย่างเหมาะสม
2) ใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นที่หลากหลายเหมาะสมกับสาระการเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนรู้
ได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้แก่ การพานักเรียนไปทัศนศึกษาหาความรู้จากแหล่งเรียนรู้ต่างๆ เช่น สถานีรถไฟ ที่ทำการไปรษณีย์โทรเลข สถานธนานุบาล ที่ทำการประปา ศูนย์การฝึกทหารม้า และวัดในชุมชน รวมทั้งให้ผู้รู้ในท้องถิ่นนำพาเที่ยวชมและบรรยายความรู้ ความเป็นมาเกี่ยวกับสถานที่นั้นๆ และยังมีส่วนช่วยสร้างแหล่งเรียนรู้และเลือกใช้แหล่งเรียนรู้ ได้อย่างเหมาะสม ผู้รายงานได้ดำเนินการในการจัดหาแหล่งเรียนรู้ ส่งเสริม พัฒนาและใช้แหล่งเรียนรู้ในหมู่บ้านและชุมชนใกล้เคียง เพื่อพัฒนาทักษะ ประสบการณ์ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียน โดย ผู้ปกครอง และชุมชนได้มีส่วนร่วมในการส่งเสริมและพัฒนาแหล่งเรียนรู้และยังได้เชิญ อาจารย์บุญส่ง ณ บางช้าง ให้ความรู้เรื่องดนตรีไทยขั้นพื้นฐาน การสาธิตการทำขนมลูกชุบโดย นางนภาพร วงศ์ลาภสุวรรณ การปฏิบัติจริง การหุงข้าว โดยนางศิริรัตน์ แสงจันทร์ ด้วยการพานักเรียนไปห้องประกอบอาหารของโรงเรียนแล้วดูการสาธิตหุงข้าว จากข้าวสารกลายเป็นข้าวสุกที่รับประทานได้ ซึ่งเป็นครูภูมิปัญญาของชุมชน มาร่วมจัดกิจกรรมการเรียนรู้อนุรักษ์ และส่งเสริมเป็นอาชีพของนักเรียนต่อไป โดยได้เลือกแหล่งเรียนรู้ให้สอดคล้องกับการจัดปราบการณ์การเรียนรู้และการจัดกิจกรรมตามประสบการณ์การเรียนรู้
3) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการประเมินผลการใช้แหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาอย่างสม่ำเสมอ
ได้นำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อย่างสม่ำเสมอ มีการจัดทำข้อมูลการใช้ แหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่น และประเมินผลการใช้เพื่อนำมาปรับปรุงพัฒนาต่อไป
4) ใช้หรือสร้างเครือข่ายทางวิชาการ และประเมินผลอย่างเป็นระบบเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้
- ได้ร่วมกับนางวรรณพร มุมกระโทก ครู คศ.3 โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดศรีบุรีรัตนาราม) สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จัดทำหนังสืออ่านเพิ่มเติม (นิทาน)
- ได้ร่วมกับนางสมพร ชาวพรม ครู คศ.3 โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดบำรุงธรรม) สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จัดทำหนังสืออาหารเพื่อสุขภาพสำหรับเด็กอนุบาล
- ได้ร่วมกับนางนิรามัย ไอยรานภารักษ์ ครู คศ.3 โรงเรียนอนุบาลเทศบาล สระบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสระบุรี จัดทำหนังสือนิทาน และเทคนิคการเล่านิทาน
- ได้ร่วมกับนางปราณี ประไพพงษ์ ครู คศ.3 โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จัดทำหนังสือนิทานฝึกทักษะการอ่านสำหรับเด็กอนุบาล
- ได้ร่วมกับนายปราโมทย์ ลือสิทธิ์ รองผู้อำนวยการสถานศึกษาโรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) สังกัดเทศบาลเมืองสระบุรี จัดทำแบบประเมินพัฒนาการทั้ง 4 ด้านของเด็กปฐมวัย
ได้พัฒนาตนเองและวิชาชีพครูอย่างสม่ำเสมอ โดยเข้ารับการอบรม/การฝึกหัดอย่างต่อเนื่องและเผยแพร่สื่อการเรียนการสอนที่ผลิตขึ้นให้กับเพื่อนครูที่สนใจ ได้เป็นคณะกรรมการในการอบรมปฏิบัติการ การจัดนิทรรศการ และร่วมกันจัดกิจกรรมทางวิชาการต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด ทำให้เกิดประโยชน์ต่อความก้าวหน้าในการพัฒนาวิชาการและวิชาชีพอย่างกว้างขวาง มีการประเมินตนเองอย่างเป็นระบบโดยมีการประชุมปรึกษาหารือแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอย่างสม่ำเสมอ
3.1.2.2 คุณภาพการปฏิบัติงานตามวิทยฐานะ พิจารณาจาก
1. ผลงานที่เกิดจากความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้หรือการปฏิบัติงานส่งเสริมการเรียนรู้ที่รับผิดชอบ ในระดับที่กำหนดในมาตรฐานวิทยฐานะ
ผู้เสนอขอเป็นผู้ที่มีความรู้ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับปฐมวัยเป็นอย่างดียิ่ง โดยได้ศึกษาหาความรู้จากหลักสูตรสถานศึกษา คู่มือครู ผังมโนทัศน์ เอกสานวิชาการต่างๆ เช่น เทคนิควิธีการสอน รูปแบบ การจัดกระบวนการเรียนรู้ สื่อแหล่งการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล การวิเคราะห์ผู้เรียนเป็นรายบุคคล การจัดทำหน่วยการเรียนรู้ การจัดทำแผนการจัดประสบการณ์เรียนรู้ จากนั้นจึงออกแบบการเรียนรู้ทั้งแบบบูรณาการภายในกิจกรรมการเรียนรู้ โดยบูรณาการทั้งเนื้อหาและทักษะกระบวนการผสมผสานเข้าด้วยกันอย่างสมดุลโดยกำหนดสาระการเรียนรู้ มีโอกาสได้เรียนรู้ในภูมิปัญญาท้องถิ่น จัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนตามที่ออกแบบการเรียนรู้ โดยกำหนดสาระการเรียนรู้ ผลการเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนรู้สื่อและแหล่งการเรียนรู้ กระบวนการวัดและประเมินผล แล้วทำการบันทึกผลหลังสอนอย่างละเอียดและเป็นปัจจุบัน นำผลจากการสอน มาทำการวิเคราะห์ผู้เรียน เพื่อนำไปสู่การทำวิจัย เพื่อพัฒนาผู้เรียนและการเรียนการสอนต่อไป
2. ผลงานที่เกิดจากความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาวิชาการโดยแสดงให้เห็นว่ามีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์มีการปรับประยุกต์ หรือมีการวิเคราะห์สังเคราะห์หรือสร้างองค์ความรู้ใหม่ตามกำหนดในมาตรฐานวิทยฐานะ
จากการพัฒนาผู้เรียนที่รับผิดชอบในชั้นปฐมวัย ได้จัดการเรียนรู้ โดยเน้นผู้เรียนเป็นไปตามแนวทางการปฏิรูปการศึกษา โดยการพัฒนาผู้เรียนในทุกด้าน ได้แก่ พัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ทั้ง 4 เรื่อง ได้แก่ เรื่องราวเกี่ยวกับเด็ก เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล สถานที่และสิ่งแวดล้อมเด็กธรรมชาติรอบตัว สิ่งต่างๆรอบตัวเด็กส่งเสริมความสามารถและพัฒนาการของผู้เรียนในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์โดยการประเมินผลการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ มีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศและเอกสารประจำชั้นเรียนที่สมบูรณ์เป็นปัจจุบันรวมทั้งสร้างแนวคิดใหม่ๆในเชิงสร้างสรรค์เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
3. ผลงานที่แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาวิชาการและประเมินผลที่เหมาะสมกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่รับผิดชอบมีคุณภาพตามที่กำหนด ในมาตรฐานวิทยฐานะ
ในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ ได้กำหนดวิธีการวัดประเมินผลเครื่องมือที่วัด และเกณฑ์การวัดได้อย่างชัดเจน ให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้และกิจกรรมการเรียนการสอน มีความคลอบคลุมทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และเจตคติ โดยใช้วิธีการวัดและประเมินผลที่หลากหลายรูปแบบ ได้แก่ การประเมินตามสภาพจริง การประเมินโดยใช้แฟ้มพัฒนางานการประเมินตนเอง เพื่อนประเมินเพื่อน ครูและผู้ปกครองร่วมกันประเมินส่วนวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ใช้วิธีการสังเกต การตรวจผลงาน การทดสอบความรู้ การตรวจสอบการปฏิบัติงานแสดงผลงาน ส่วนในการประเมินความสามารถหรือทักษะทางภาษาได้ใช้การประเมินแบบ Rubric เพื่อมุ่งเน้นให้มีผลการประเมินตรงกับความสามารถที่แท้จริงของผู้เรียน เมื่อทำการวัดและประเมินผลแล้วได้นำผลการประเมินมาใช้เป็นข้อมูลในการพัฒนาผู้เรียน โดยทำการซ่อมเสริมให้กับนักเรียนที่มีปัญหา หรือส่งเสริมนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษเฉพาะทางอย่างต่อเนื่องต่อไป
3.1.3 ผลที่เกิดกับผู้เรียนครู ผู้ปกครอง ชุมชน สถานศึกษาและการจัดการศึกษาแล้วแต่กรณี
1) ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนบรรลุตามเป้าหมายที่โรงเรียนกำหนดไว้ ผลจากการจัดการเรียนการสอนที่มีการเตรียมการและการดำเนินการอย่างมีคุณภาพนั้น ส่งผลให้นักเรียนประสบความสำเร็จในด้านต่างๆดังนี้
ด้านร่างกาย มีการพัฒนาการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กล้ามเนื้อเล็กประสานสัมพันธ์ระหว่างกล้ามเนื้อและระบบประสาทในการทำกิจกรรมต่างๆได้เหมาะสมกับวัย
ด้านสติปัญญา เป็นผู้มีปัญญาสามารถเรียนรู้ทำงานตามที่มอบหมายได้สำเร็จ รู้จักวิเคราะห์ปัญหา แก้ปัญหาได้และมีพัฒนาการที่เหมาะสมกับวัย
ด้านอารมณ์ เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ มีสุขภาพสมบูรณ์ทั้งทางกายและทางใจ ยิ้มแย้มแจ่มใส ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และมีความสุขกับการเรียน
ด้านสังคม เป็นผู้มีความสามารถ ปรับตนเองให้เข้ากับเพื่อนๆและสามารถเรียนรู้ทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกับเพื่อนได้อย่างประสบความสำเร็จ
ด้านคุณธรรม จริยธรรม เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรมที่ดีงามสามารถปฏิบัติตนเองตามวิถีพุทธได้อย่างมีความสุข นักเรียนทุกคนจะถูกปลูกฝังให้มีนิสัยรักความสะอาดและช่วยเหลือตัวเองได้และมีความรับผิดชอบ
ผลการปฏิบัติงานในด้านต่างๆอย่างจิงจังทำให้นักเรียนในความรับผิดชอบของผู้รายงานถึงพร้อมทั้งความดี ความเก่ง และเรียนรู้อย่างมีความสุข สอดคล้องกับความมุ่งหวังของพระราชบัญญัติการศึกษา พุทธศักราช 2542 ที่ว่าเป็นการจัดการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักเรียนเป็นคนดี คนเก่ง และมีความสุข
2) สนใจเรียน แสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆ บันทึกความรู้อย่างสม่ำเสมอ การจัดการเรียนรู้เน้นการจัดกิจกรรมกลุ่มและรายบุคคลโดยฝึกให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การกระตุ้นให้นักเรียนเกิดกระบวนการคิด วิเคราะห์ และบันทึกความรู้ต่างๆ เช่น หนังสือ ห้องมสมุด อินเตอร์เน็ต เอกสารต่างๆข่าวสารประจำวัน ฯลฯ รวมถึงแหล่งเรียนรู้ในชุมชน อย่างสม่ำเสมอ
3) มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ จะเห็นได้จากผลงานของนักเรียนที่ปรากฏดังนี้ คือ โครงงานน้ำส้มคั้น โครงงานน้ำลำไย โครงงานเรื่องส้มตำมะละกอ โครงงานเรื่องกล้วยบวชชี โครงงานเรื่องไข่ โครงงานเรื่องข้าวเกรียบปากหม้อ โครงงานส่วนประกอบของต้นไม้ โดยใช้สีจากธรรมชาติ เช่น สีเขียวจากใบเตย
4) มีทักษะและนิสัยรักการทำงาน มีคุณธรรม และจริยธรรม ตามคุณลักษณะพึงประสงค์ของสถานศึกษา ผลจากการที่นักเรียนยึดมั่นในศีลธรรม มีค่านิยมที่ดี ประพฤติปฏิบัติตนดี ฝึกให้รู้จักการเสียสละและนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตนเอง เพื่อการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ สงบสุข ไม่เบียดเบียนซึ่งกันและกัน
5) ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์และพัฒนาสิ่งแวดล้อม โดยมีความรู้ความเข้าใจเต็มใจเข้าร่วมด้วย เช่น การอนุรักษ์ทรัพยากรในท้องถิ่น การปลูกต้นไม้ การจัดสวนหย่อมและสถานที่พักผ่อนหย่อนใจ การจัดบรรยากาศในห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียนรู้ ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจ และเต็มใจในการรักษาผลประโยชน์ส่วนรวม ช่วยกันสอดส่องดูแลรักษาของที่เป็นส่วนรวม และใช้อย่างคุ้มค่า ตลอกจนเสียสละประโยชน์ส่วนตัวเพื่อส่วนรวม เช่น การบำเพ็ญประโยชน์เพื่อส่วนรวมโดยการทำความสะอาดบริเวณรอบอาคารเรียนและอาคารเอนกประสงค์
6) ผู้เรียนมีการแสดงออกด้วยความมั่นใจ ร่าเริง แจ่มใส มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีต่อผู้อื่น มีความกระตือรือร้น และผู้เรียนให้ความรับผิดชอบมาเรียนอย่างสม่ำเสมอมีเวลาเรียนเกินร้อยละ 80 ของเวลาเรียนทุกคน สร้างบรรยากาศและสภาพแวดล้อมในการเรียนรู้ให้นักเรียนรู้สึกว่าสบายๆ เป็นกันเอง ไม่เคร่งเครียด นักเรียนสามารถแสดงออกและแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการปฏิบัติจริง ทำให้เกิดทักษะ มีความกระตือรือร้น มาเรียนอย่างสม่ำเสมอ สอนการทำงานเป็นกลุ่มเพื่อให้เกิดทักษะเกี่ยวกับความสามัคคี การทำงานร่วมกับผู้อื่น ความรับผิดชอบ ภาระหน้าที่ของตนตามที่ได้รับมอบหมายและปฏิบัติตามกฎของห้อง
7) ผู้เรียนเป็นผู้ใฝ่รู้ใฝ่เรียน ในการร่วมกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนมีความตั้งใจ ให้ความสนใจในการเรียน มีการพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง หมั่นฝึกฝนแสวงหาความรู้จากแหล่งการเรียนรู้ต่างๆทั้งในด้านภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยี
8) ผู้เรียนมีทักษะและนิสัยรักการทำงาน โดยปฏิบัติงานอย่างคล่องแคล่ว รวดเร็ว มุ่งมั่นทำงานที่ได้รับมอบหมายจนสำเร็จ รักและพอใจในการทำงาน มีการอาสาที่จะปฏิบัติอย่างมีน้ำใจ มีการพัฒนาตนในด้านคุณธรรมจริยธรรมที่พึงประสงค์อย่างต่อเนื่อง มีความมานะ ขยันหมั่นเพียร ประหยัด อดออม ซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น
9) ผู้เรียนมีสุขภาพกาย และจิตที่ดี เรียนรู้อย่างมีความสุข สนุกสนาน มีสุขนิสัยที่ดีในการปฏิบัติตนให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข สามารถปรับตัวเข้ากับเพื่อนได้ และสถานการณ์ต่างๆได้ มีการร่วมกิจกรรมและทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมและชุมชนอยู่เสมอ เป็นผู้ร่วมอนุรักษ์และมีความภาคภูมิใจในศิลปวัฒนธรรมในท้องถิ่น มีความประพฤติปฏิบัติตนเป็นอย่างที่ดี เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู
10) ปรับตัวเข้ากับเพื่อนและสถานการณ์ต่างๆได้ดี เป็นที่ยอมรับของเพื่อนและครู จัดให้มีระบบดูแลนักเรียนในการสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้ การอยู่ร่วมกัน การทำงาน สุขภาพอนามัยของนักเรียนแต่ละคน เพื่อผู้สอนจะได้คอยช่วยเหลือให้นักเรียนได้ปรับตัวเข้ากับสิ่งแวดล้อมตลอดจนส่งเสริมให้เต็มศักยภาพของแต่ละคน ได้รับการยอมรับจากเพื่อนในการอยู่ร่วมกันครูจะสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมควบคู่ไปกับการเรียนการสอนเพื่อให้นักเรียนปฏิบัติได้อย่างดีและถูกต้อง
3.2 ผลงานทางวิชาการที่ขอรับการประเมิน ให้ระบุชื่อผลงานทางวิชาการที่เสนอขอ
1. การพัฒนากล้ามเนื้อเล็กด้วยชุดกิจกรรมการประกอบอาหารสำหรับเด็กปฐมวัยจำนวน 1 เล่ม
2. คู่มือการจัดกิจกรรมเสริมประสบการณ์ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 2 ด้วยชุดกิจกรรมประกอบอาหาร สำหรับเด็กปฐมวัย
4. ผลงานด้านวิจัยหรือวิทยานิพนธ์
-
5. ผลงานทางวิชาการ ที่เคยได้รับการอนุมัติ เพื่อกำหนดตำแหน่งและแต่งตั้งให้ได้รับเงินเดือน ในระดับที่สูงขึ้นหรือให้มีวิทยฐานะ หรือเลื่อนวิทยฐานะให้สูงขึ้น
-

ประวัติ

ชื่อ – สกุล นางชลธิชา แสงทอง อายุ 44 ปี อายุราชการ 16 ปี
คุณวุฒิสูงสุด ปริญญาตรี ครุศาสตร์บัณฑิต วิชาเอก สังคมศึกษา
จากสถาบันการศึกษา วิทยาลัยครูพระนครศรีอยุธยา จังหวัด พระนครศรีอยุธยา
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะครูชำนาญการ ตำแหน่งเลขที่ 12383-2
สถานศึกษา โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี)
สังกัด สำนักการศึกษาเทศบาลเมืองสระบุรี จังหวัด สระบุรี
รับเงินเดือนในอันดับ คศ. 2 ขั้น 6.5 20,220
การรับราชการ
2.1 เริ่มรับราชการในตำแหน่ง อาจารย์ 1 ระดับ 3 เมื่อวันที่ 16 เดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2536
2.2 เคยดำรงตำแหน่ง/วิทยฐานะที่สำคัญ ดังนี้
วัน เดือน ปี ตำแหน่ง/วิทยฐานะ รับเงินเดือน
ระดับ/อันดับ ขั้น (บาท)
16 ก.ค. 36 อาจารย์ 1 โรงเรียนเทศบาล 6 (วัดเชิงเขา) 3 5,560
5 ต.ค. 37 อาจารย์ 1 โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) 3 5,860
2 ต.ค. 39 อาจารย์ 1 โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) 4 7,380
1 เม.ย. 41 อาจารย์ 1 โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) 5 9,300
2 ต.ค. 47 อาจารย์ 2 โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) 6 13,770
24 ธ.ค. 47 ครู โรงเรียนเทศบาล 10 (อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) คศ.2 13,770
1 ต.ค. 49 ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 10(อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) คศ.2 16,910
1 ต.ค. 50 ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 10(อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) คศ.2 18,480
1 ต.ค. 51 ครูชำนาญการ โรงเรียนเทศบาล 10(อนุบาลเทศบาลเมืองสระบุรี) คศ.2 20,220
2.3 ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งปัจจุบัน เมื่อวันที่ 24 เดือนธันวาคม พ.ศ. 2547
ได้รับแต่งตั้งเป็นวิทยฐานะปัจจุบัน เมื่อวันที่ 1 เดือนตุลาคม พ.ศ. 2551